ก่อนหน้านี้ เรารู้แล้วว่า HTML คือโครงสร้างของเนื้อหาในเว็บเพจ หรือพูดง่ายๆ ก็คือ HTML เอาไว้บอกว่าในหน้าเว็บนั้นมีเนื้อหาอะไรบ้าง โดยทั่วไปแล้ว web browsers จะมีการกำหนด “สไตล์” ให้กับเนื้อหาเหล่านี้เอาไว้อยู่แล้ว แต่มันอาจจะไม่ค่อยสวยเท่าไรนักในการปรับเปลี่ยน “สไตล์” ให้กับเนื้อหา เราจะใช้สิ่งที่เรียกว่า “CSS (Cascading Style Sheets)” เข้ามาช่วย ไม่ว่าจะเป็นการจัดตำแหน่งของเนื้อหา ปรับขนาดของตัวอักษร หรือเปลี่ยนสีพื้นหลัง สิ่งเหล่านี้ ล้วนทำผ่าน CSS ทั้งสิ้น หรือพูดง่ายๆ ก็คือ CSS มีไว้บอก web browsers ว่าเนื้อหาต่างๆ ควรแสดงผลออกมาอย่างไร
อย่าลืมว่าเนื้อหาต่างๆ ในหน้าเว็บนั้นถูกสร้างมาจาก “HTML Elements” การจะตกแต่งสไตล์ให้กับเนื้อหา ก็คือการใส่สไตล์ให้กับ HTML Elements นั่นเอง วิธีการก็คือ เราจะต้องสร้าง “กฎเกณฑ์” หรือสิ่งที่เรียกว่า “CSS Rule” ขึ้นมา ซึ่ง CSS Rule นี้เอง ที่จะเป็นตัวบอกว่า HTML Elements ไหนที่เราอยากจะปรับ และอยากปรับให้เป็นแบบไหน โดยมันจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ด้วยกัน ดังนี้
จากตัวอย่างก่อนหน้านี้ เราได้กำหนดให้ Selector เป็น h1 ซึ่งเราจะเรียกการเขียน Selector แบบนี้ว่า “Tag Selector” คือ มันจะส่งผลไปยังทุกๆ HTML Elements ที่เป็น h1 เลย ในบางครั้ง การเขียน Selector แบบนี้ อาจดูกว้างเกินไป ให้เราแก้โดยการเขียน Selector แบบ Class หรือ Id แทน
Class
การเขียน Selector แบบนี้ จะเป็นการระบุ HTML Elements โดยอาศัย Attribute ที่มีชื่อว่า “class” สมมติเราต้องการกำหนดสไตล์ให้กับ 4 หัวข้อ นี้
เว้นวรรค
เนื้อหา
เว้นวรรค
เนื้อหา
เว้นวรรค
เนื้อหา
เว้นวรรค
เนื้อหา
เว้นวรรค
เนื้อหา
เว้นวรรค
เนื้อหา
เว้นวรรค
เนื้อหา
เว้นวรรค
เนื้อหา